ฆ่าตัวตาย ว่ากันว่าอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้อัตราฆ่าตัวตายในเกาหลีใต้สูงกว่าชาติอื่น คือการไม่ยอมรับว่าตัวเองมีความผิดปกติทางจิตใจ เพราะการยอมรับเป็นแสดงออกถึงความอ่อนแอ Chad Ebesutani จิตแพทย์ที่ศูนย์จิตเวชนานาชาติในโซลเล่าว่า เคยมีคนไข้มารับการบำบัดที่ศูนย์ พอพ่อแม่คนไข้รู้เข้าก็ห้ามไม่ให้ไปรักษา ไม่นานมานี้มีข่าวการฆ่าตัวตายของครอบครัว จาง จุน-ฮา ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้าและต้องขอแสดงความเสียใจกับทางครอบครัวด้วย

ฆ่าตัวตาย การสูญเสียคนในครอบครัว

พี่ชายครวญคร่ำด้วยความทุกข์ พี่ชายผู้มีชื่อว่า จาง จุน-ฮา เหมือนถูกสะกดนิ่ง เมื่อได้เห็นร่างไร้วิญญาณของน้องชายที่อายุเพียง 35 ปี “ตอนที่ผมพบร่างน้องชายที่เย็นเยียบ เมื่อ 3 ปีก่อน มันเป็นเดือนพฤษภาคม แต่หัวใจผมแปรเปลี่ยนเป็นฤดูหนาว”

ก่อนหน้านี้ จาง โทรศัพท์หาตำรวจ เพราะติดต่อน้องชายไม่ได้มานานหลายวัน ตำรวจพังประตูบ้านน้องของเขา สิ่งที่ จาง เห็น คือ จุน-อัน ผู้เป็นน้อง นอนนิ่งไร้ชีวิตชีวาบนเตียง

“ตอนนั้น ผมเข้าชั้นเรียนอยู่ที่ศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตาย เพื่อเป็นผู้ฝึกสอน” จาง กล่าว

“ผมเดินสายไปตามโรงเรียนต่างๆ เพื่อให้ความรู้เด็กๆ เกี่ยวกับสัญญาณทั่วไปของคนที่คิดจะฆ่าตัวตาย และแนวทางการช่วยพวกเขา ผมพยายามช่วยชีวิตคนอื่น แต่ไม่เคยคิดเลยว่า น้องชายของผมจะฆ่าตัวตายเสียเอง”

จนถึงวันนี้ การจะพูดถึงสิ่งที่ครอบครัวของ จาง วัย 45 ปี มันยังเป็นการยาก เพราะถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนในสังคมเกาหลีใต้ แต่เขาก็พยายามทำเต็มที่เพื่อสร้างความตระหนักรู้ด้วยเรื่องราวของเขา

ชาติที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุด

เกาหลีใต้ขึ้นชื่อไปทั่วโลกในด้านวงการเค-ป็อป และบริษัทระดับโลกอย่าง ซัมซุง แต่ในสังคมที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง เชื่อหรือไม่ว่า แต่ละวัน มีคนเกาหลีใต้ 36 คนที่ฆ่าตัวตาย

ประเทศนี้ถือว่ามีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุดสุด ในหมู่ประเทศร่ำรวย 38 ประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ โออีซีดี

สำนักสถิติเกาหลีใต้ระบุว่า ในปี 2021 มีประชาชน 13,352 คนที่เลือกจบชีวิตตัวเอง ถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตหลักในหมู่ชาวเกาหลีใต้อายุระหว่าง 10-39 ปี

การเสียชีวิต 2 ใน 3 ของวัยรุ่น หรือคิดเป็น 43.7% มีสาเหตุมาจากการฆ่าตัวตาย อัตรายิ่งสูงขึ้นเป็น 56.8% สำหรับประชาชนในวัย 20 ปีขึ้นไป ก่อนจะลดลงมาเป็น 40.6% สำหรับประชาชนในช่วงอายุ 30 ปี น้องชายของจาง จึงเป็นหนึ่งในประชากรรุ่นที่กำลังเผชิญอุปสรรคในชีวิต

รัฐบาลกรุงโซล จดสถิติการเสียชีวิตอยู่ที่ 23.6 คนต่อประชากร 100,000 คน ถือว่าสูงกว่า 2 เท่าจากค่าเฉลี่ยประเทศกลุ่มโออีซีดี ซึ่งอยู่ที่ 11.1 คน

เมื่อไม่นานนี้ รัฐบาลเกาหลีใต้ประกาศแผน 5 ปี เพื่อยับยั้งการฆ่าตัวตายด้วยเป้าหมายลดอัตราลงให้ได้ 30% เป้าหมาย 30% ถือว่าเป็นเป้าหมายที่ทะเยอทะยานมาก เพราะหากทำสำเร็จจะหมายความว่า เกาหลีใต้จะไม่ถูกตีตราว่า “ประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดในกลุ่มประเทศโออีซีดี” อีกต่อไป

แต่นี่เป็นเพียงยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์ หรือมันเป็นไปได้ที่รัฐบาลจะแก้ปัญหาที่ฝังลึก และเป็นต้นตอของตัวเลขสลดที่เกิดขึ้น

สังคมที่มีแรงกดดันสูง

อัตราการฆ่าตัวตายที่สูงของเกาหลีใต้ เป็นส่วนผสมของหลายปัจจัย ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เกาหลีใต้กลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก หลังถูกฉีกทึ้งจากสงครามเกาหลี ซึ่งสิ้นสุดในปี 1953 แต่พัฒนาการทางเศรษฐกิจกลับไม่ได้นำไปสู่การขบายสวัสดิการของรัฐ กลับกัน ยิ่งทำให้เหลื่อมล้ำมากขึ้น ความเหลื่อมล้ำก่อกำเนิดสังคมที่อยู่บนรากฐานของการแข่งขันและความสำเร็จ ซึ่งฉุดรั้งประชาชนจำนวนไม่น้อยให้เผชิญกับปัญหาด้านจิตเวช

กว่าที่ จาง จะได้ทราบว่าน้องชายของเขาเข้ารับการบำบัดทุกสัปดาห์ต่อเนื่องมา 10 ปี ก็เป็นวันที่น้องชายของเขาไม่มีชีวิตอยู่แล้ว

“น้องชายผมจบด้านทฤษฎีภาพยนตร์ และกำลังเตรียมศึกษาต่อในต่างประเทศ มันก็เหมือนครอบครัวเกาหลีอื่นๆ นั่นแหละ เขาเผชิญแรงกดดันว่าต้องประสบความสำเร็จ แต่การเงินมันจำกัด ชีวิตก็ลำบาก” จาง กล่าว

“น้องชายผมต้องสู้กับโรคซึมเศร้ารุนแรง หัวใจผมแทบแหลกสลาย เมื่อได้รู้ว่า ผมไม่เคยรู้เรื่องนี้เลยมานานมาก”

ผู้เชี่ยวชาญพยายามข่มเน้นให้เห็นถึงอันตรายของสังคมที่มุ่งเน้นความสำเร็จของปัจเจกชนมากเกินไป ไม่ว่าจะเรื่องเงินและสถานะทางสังคม

“มากกว่าอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงในเกาหลีใต้ มันคือเรื่องเศร้าของสังคมที่ระบบสวัสดิการอ่อนแอ สังคมที่ยึดโยงกับความสำเร็จ ให้ความสำคัญแต่ความมั่งคั่งที่ตัวบุคคลแสวงหาได้” ซุง-นัง จัง คณบดี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุงอัง กล่าว

“แล้วยิ่งสายสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวและคนในชุมชนอ่อนแอลง มันดูเหมือนว่าทุกคนจะกำลังต่อสู้ในศึกชิงความสำเร็จเพียงลำพัง”

ฆ่าตัวตาย

ทำงานที่ช่วยยับยั้งการฆ่าตัวตาย

วัฒนธรรมเหล่านี้กำลังค่อยๆ เปลี่ยนไป แต่มีอีกมากที่ต้องแก้ไข “ชาวเกาหลีใต้คุ้นเคยกับการอยู่บนที่สูง ในสังคมที่แข่งขันรุนแรง และเกาหลีเอง ก็ไม่ใช่ประเทศที่คุณจะแสดงความรู้สึกออกมาได้ง่าย” ยอน-ซู คิม ผู้อำนวยการ มูลนิธิ “ไลฟ์ไลน์ ซีโอโซล” ซึ่งให้บริการสายด่วน 24 ชั่วโมง เพื่อยับยั้งการฆ่าตัวตาย

“ผู้คนต้องการพื้นที่ให้ได้แสดงออกถึงความยากลำบากที่เผชิญ และความรู้สึกอย่างเสรีและปลอดภัย เราจำเป็นต้องสร้างความตระหนักรู้ให้ผู้คนว่า มันมีหนทางอื่นเพื่อไปสู่ความสำเร็จ และพวกเขาต้องยอมรับในจุดนี้”

ตอนนี้ จางทำงานเป็นจิตแพทย์คลินิก ที่ศูนย์สุขภาพจิตในกรุงโซล เขาช่วยเหลือครอบครัวต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการฆ่าตัวตาย หรือช่วยคนที่มีความคิดอยากตาย เขายังเป็นผู้นำในการสนับสนุนกลุ่มครอบครัวที่ได้สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักด้วย

“มันเป็นงานที่หนัก สมาชิกในครอบครัวมักเป็นคนแรกๆ ที่พบร่างผู้เสียชีวิต พวกเขาจดจำสิ่งที่เห็นต้องหน้าได้อย่างแจ่มชัด และอธิบายมันออกมาด้วยรายละเอียดที่น่าเวทนาใจ”

จางเอง รู้ตัวดีว่า ภาระทางอารมณ์จากบทสนทนาเหล่านี้ กระทบตัวเขามากแค่ไหน “แต่มันเป็นงานที่คุ้มค่า เมื่อคุณได้เห็นพวกเขาอาการดีขึ้น” แล้วยังมีเรื่องของการยอมรับและความเข้าใจในครอบครัวของเขาเองด้วย

จาง ระบุว่า น้องชายของเขาทิ้งข้อความไว้ว่า เขาขอโทษพ่อแม่ และตัวจางเอง ที่ต้องทิ้งพวกเขาไป แต่เมื่อครอบครัวของเขาไปเยี่ยมหลุมศพของเขาเมื่อฤดูร้อนที่ผ่านมา จาง บอกน้องชายของเขาว่า “ไม่เป็นไรนะ นายไม่ต้องเสียใจแล้ว เราดีขึ้นแล้ว มีแต่ความห่วงใยกันในครอบครัว” จาง กล่าว

“ฉะนั้น อย่าเสียใจไปเลยน้องชาย แล้วพวกเราจะกลับมา”

เกาหลีใต้ติดอันดับฆ่าตัวตายมากที่สุดในโลก

“ยอมตายดีกว่าล้มเหลว ดีกว่าอยู่อย่างน่าอับอายหรือไร้ค่า” สาเหตุที่ทำให้คนเกาหลีใต้เลือกปลิดชีวิตตัวเอง

เกาหลีใต้เติบโตอย่างมากในช่วง 60 ปีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง จากประเทศเมืองขึ้นยากจนกลายมาเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจอันดับต้นๆ ของโลก การเติบโตทางเศรษฐกิจนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงในสังคม หนึ่งในนั้นคืออัตราฆ่าตัวตายที่เพิ่มขึ้นมากในคนทุกชนชั้น ทุกเพศ ทุกวัย

Kim Hyun-jeong จิตแพทย์ประจำศูนย์การแพทย์แห่งชาติ กล่าวว่า “การพัฒนาอย่างรวดเร็วทำให้หลายคนให้คุณค่ากับการแข่งขันและความสำเร็จ ยอมตายดีกว่าล้มเหลว ดีกว่าอยู่อย่างน่าอับอายหรือไร้ค่า”

เกาหลีใต้มีอัตราฆ่าตัวตายสูงที่สุดในกลุ่ม 35 ชาติอุตสาหกรรม OECD (องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนทางเศรษฐกิจ) ซึ่งมีสหรัฐฯ เยอรมนีและญี่ปุ่นรวมอยู่ด้วย คาดว่าในเกาหลีใต้ มีคนฆ่าตัวตายเฉลี่ยวันละเกือบ 40 คน

กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการเกาหลีใต้ระบุว่าร้อยละ 90 ของคนที่ฆ่าตัวตายเมื่อปี 2559 มีปัญหาทางจิตทั้งภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวลและความเครียด เกาหลีใต้เป็นชาติหนึ่งที่เคร่งเครียดและเคร่งครัดโดยเฉพาะเรื่องเรียนและเรื่องงาน การทำงานหรือการเรียนติดต่อกันหลายชั่วโมงจนดึกดื่นเป็นเรื่องปกติธรรมดา “สังคมกดดันเราเกินไป” นักศึกษามหาวิทยาลัยคนหนี่งยังบอกว่า “ในเกาหลี เราแคร์ความคาดหวังจากครอบครัวจากสังคมมาก การอยู่กับความคาดหวังทำให้เครียด”

ว่ากันว่าอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้อัตราฆ่าตัวตายในเกาหลีใต้สูงกว่าชาติอื่นคือการไม่ยอมรับว่าตัวเองมีความผิดปกติทางจิตใจเพราะการยอมรับเป็นแสดงออกถึงความอ่อนแอ Chad Ebesutani จิตแพทย์ที่ศูนย์จิตเวชนานาชาติในโซลเล่าว่าเคยมีคนไข้มารับการบำบัดที่ศูนย์ พอพ่อแม่คนไข้รู้เข้าก็ห้ามไม่ให้ไปรักษา

ศ. Kyooseob Ha ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล ชี้ว่าแม้รัฐบาลจะตระหนักถึงปัญหานี้และจัดตั้งหน่วยงานรวมถึงศูนย์สุขภาพจิตโดยตั้งเป้าจะลดอัตราการฆ่าตัวตายจาก 26.5 ต่อ 100,000 คนให้เหลือ 17 เท่าญี่ปุ่นภายใน 5 ปีแต่งบประมาณที่ให้ยังน้อยกว่าญี่ปุ่นเกือบเท่าตัว “เหนือสิ่งอื่นใด หนทางแก้ไขเรื่องนี้จะต้องเริ่มจากการยอมรับและความเข้าใจ”

เรื่องรอบโลกอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านเรื่องรอบโลกได้ที่  blinksource.com

สนับสนุนโดย  ufabet369