โรคพิษสุนัขบ้า 1

โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคในสัตว์เลี้ยงที่ร้ายแรงอีกโรคหนึ่ง เมื่อติดต่อสู่คนแล้วไม่สามารถรักษาได้ อย่างไรก็ตาม วิธีป้องกันโรคอันตรายชนิดนี้ก็ยังมีอยู่ เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ได้ในบทความนี้

โรคพิษสุนัขบ้า คืออะไร

โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเรบีส์ (Rabies Virus) ซึ่งเชื้อนี้จะก่อโรคในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเลือดอุ่นทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นสุนัข แมว ค้างคาว วัว ควาย ลิง ชะนี กระรอก กระแต เสือ หมี หนู รวมถึงคน ซึ่งปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคนี้ ไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์ที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้ามักจะเสียชีวิตทั้งหมด

โรคพิษสุนัขบ้า ติดต่อทางไหน

เชื้อไวรัส เรบีส์ (Rabies Virus) สามารถติดต่อสู่คนได้จากการถูกสัตว์ที่เป็นโรคกัด ข่วน เลีย น้ำลายกระเด็นเข้าทางตา ปาก หรือทางผิวหนังที่มีบาดแผล ส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 2-8 สัปดาห์ แต่อาจสั้นเพียงแค่ 7 วัน หรือยาวเกินกว่า 1 ปี ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ความรุนแรงของบาดแผล ปริมาณของเชื้อที่ได้รับ เชื้อสามารถติดต่อจากสุนัขสู่สุนัขและจากสุนัขสู่คน ส่วนการติดต่อจากคนสู่คนนั้นจะพบได้น้อยมาก ๆ

โรคพิษสุนัขบ้า 2

อาการ โรคพิษสุนัขบ้า ในสัตว์เลี้ยง

  • อาการระยะเริ่มแรก

อุปนิสัยและอารมณ์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จากสุนัขที่มีนิสัยชอบเล่นคลุกคลีกับเจ้าของก็จะแยกตัวออกไป มีอารมณ์หงุดหงิด ส่วนสุนัขที่เคยตื่นกลัวไม่เคยคลุกคลีกับเจ้าของก็จะเดินเข้ามาหาหรืออยากจะคลุกคลีด้วย นอกจากนี้สามารถสังเกตได้จากม่านตาที่จะขยายมากกว่าปกติ เพราะมีการตอบสนองต่อแสงลดลง

  • อาการระยะตื่นเต้น

ในระยะนี้สุนัขจะเริ่มมีอาการกระวนกระวาย ตอบสนองรุนแรงต่อเสียงหรือสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ กัดทำลายสิ่งของต่าง ๆ ที่อยู่รอบข้าง วิ่งไป-มาอย่างไร้จุดหมาย ไม่แสดงอาการเจ็บปวดเมื่อมีบาดแผล เสียงหอนจะผิดไปจากเดิม เนื่องจากเกิดการอัมพาตของกล้ามเนื้อกล่องเสียง ลิ้นห้อยและเป็นสีแดง น้ำลายไหล และอาจแสดงอาการขยอกหรือขย้อนคล้ายมีสิ่งแปลกปลอมติดในลำคอ

  • อาการระยะอัมพาต

อาการระยะนี้จะสั้นมาก จะมีอาการขาอ่อนเปลี้ยโดยเฉพาะขาหลัง เนื่องจากความสัมพันธ์ในการทำงานของกล้ามเนื้อเปลี่ยนไป สุนัขจะล้มลงแล้วลุกไม่ได้ เกิดเป็นอัมพาตทั่วตัวอย่างรวดเร็วจนตายในที่สุด

โดยทั่วไปพบว่าสุนัขที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าส่วนใหญ่จะแสดงอาการในระยะตื่นเต้นให้เห็นเด่นชัด หรือเรียกว่าเป็นบ้าแบบดุร้าย มากกว่าแสดงอาการในระยะอัมพาตเด่นชัด หรือบ้าแบบซึม

ส่วนอาการของโรคพิษสุนัขบ้าที่เกิดในคนเป็นการอักเสบของสมองและเยื่อสมอง 2-3 วันแรกจะปวดเมื่อยตามตัว มีไข้ ชา เจ็บเสียว หรือปวดบริเวณรอยแผลที่ถูกกัด คันอย่างรุนแรงที่แผลและลำตัว ทั้งนี้ อาการของผู้ป่วยจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

แบบคลุ้มคลั่ง : จะมีอาการกระวนกระวาย ระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติ ประสาทหลอน อาจมีอาการชัก หายใจหอบ หมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด

แบบอัมพาต : เป็นอาการที่พบได้น้อย โดยมีอาการอัมพาตของแขน ขา พูดไม่ชัด น้ำลายมาก มีอาการกลัวน้ำ กลัวลม พบได้ประมาณร้อยละ 50 หลังแสดงอาการจะอยู่ได้นานกว่าแบบคลุ้มคลั่ง แต่ก็จะเสียชีวิตในที่สุด

วิธีป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตวเลี้ยง

สำหรับสุนัขสามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน โดยนำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนเมื่ออายุ 3 เดือนขึ้นไป และฉีดซ้ำทุกปี สำหรับคนให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสและลดความเสี่ยงจากการถูกสุนัขกัดหรือโดนทำร้าย โดยปฏิบัติตามคำแนะนำ 5 ย. ของกระทรวงสาธารณสุข

  • อย่าแหย่ ให้สุนัขโมโห โกรธ
  • อย่าเหยียบ หาง หัว ตัว ขา หรือทำให้สุนัขหรือสัตว์ต่าง ๆ ตกใจ
  • อย่าแยก สุนัขที่กำลังกัดกันด้วยมือเปล่า
  • อย่าหยิบ ชามข้าวหรือเคลื่อนย้ายอาหารขณะที่สุนัขกำลังกินอาหาร
  • อย่ายุ่ง หรือเข้าใกล้กับสุนัขหรือสัตว์ต่าง ๆ นอกบ้านที่ไม่มีเจ้าของ หรือไม่ทราบประวัติ

วิธีปฏิบัติเมื่อถูกกัด

  • สัตว์เลี้ยงที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัด

เมื่อสุนัขของตนเองถูกสุนัขที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัด ให้เจ้าของตัดสินใจว่าจะเลี้ยงต่อหรือจะทำการการุณยฆาต (Euthanasia) หรือทำการฉีดยาให้ตาย ถ้าเจ้าของต้องการจะดูแลต่อต้องทำการกักตัวสุนัขไว้เป็นเวลา 6 เดือน โดยให้ฉีดวัคซีนทันทีหลังจากถูกกัดและคอยสังเกตอาการ ถ้ามีการแสดงอาการของโรคให้ทำการการุณยฆาตทันที แต่ถ้าไม่มีการแสดงอาการใด ๆ 1 เดือนก่อนปล่อยตัวให้ทำการฉีดวัคซีนอีกครั้ง แล้วค่อยทำการปล่อยไปใช้ชีวิตตามปกติ ที่สำคัญควรต้องทำวัคซีนเป็นประจำต่อเนื่องต่อไป

  • สัตว์จรจัดที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัด

กรณีที่ถูกสุนัขบ้าหรือถูกสุนัขจรจัด แมว หรือสัตว์อื่น ๆ กัด ให้รีบล้างแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง ใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น เบตาดีน ซึ่งจะช่วยลดอัตราเกิดโรคได้ถึงร้อยละ 80-90 และรีบไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้เร็วที่สุดเพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคจนครบตามที่แพทย์แนะนำ

ทั้งนี้ หากพบเห็นสัตว์ที่สงสัยว่าอาจเป็นโรคพิษสุนัขบ้า คือ มีอาการหางตก เดินโซเซ น้ำลายย้อย ลิ้นห้อย ตาขวาง ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ หรือผู้นำชุมชน และให้ช่วยกันจับอย่างระมัดระวังอย่าให้ถูกกัด แล้วกักสัตว์ไว้ดูอาการ 10 วัน หากสัตว์ตายให้นำหัวสัตว์ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการต่อไป

ถึงแม้ว่าโรคนี้จะเป็นโรคที่รักษาไม่ได้เมื่อติดต่อสู่คน แต่ก็ยังมีวัคซีนฉีดป้องกันทั้งในสุนัขและในคน ทั้งนี้ ต้องระมัดระวังด้วยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสุนัขที่ไม่ทราบที่มาไว้ก่อนเป็นอันดับแรก


ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
Deion Sanders เข้ารับการผ่าตัดลิ่มเลือดเพื่อหลีกเลี่ยงการตัดเท้า
Washington Wizards ไปเยือนจีนไม่นานหลังจากการสถาปนา
การแข่งขันที่เป็นมิตรทำให้เกิดไฟลุกโชน
Alycia Baumgardner มีตัวเลือกมากมาย
ติดตามข่าวอื่นๆได้ที่ https://www.blinksource.com/
สนับสนุนโดย  ufabet369
ที่มา pet.kapook.com